ตำรากลยุทธ์ทั้ง 6 ของเจียงจื่อหยา

531 บาท
ตำรากลยุทธ์ทั้ง 6 ของเจียงจื่อหยา
ตำรากลยุทธ์ทั้ง 6 ของเจียงจื่อหยา
รหัสสินค้า / Barcode: 9786168295793
ปกติ: 590 บาท
ขาย:531 บาท

ISBN : 9786168295796
โดย : เกียงจูเหย
ผู้แปล : พิชชากร พุ่มแก้ว
สำนักพิมพ์ :  Lan-bridge
อื่นๆ : 160 หน้า

“หลิวเทา” เป็นตำราการทหารที่มีชื่อเสียงในสมัยโบราณของประเทศจีน เนื้อหาแบ่งออกเป็น 6 ตอน ได้แก่

  • แผนการฝ่ายบุ๋น
  • แผนการฝ่ายบู๊
  • แผนการมังกร
  • แผนการพยัคฆ์
  • แผนการเสือดาว
  • แผนการสุนัข

ตำราเล่มนี้เขียนโดยใช้รูปแบบบทสนทนาระหว่างกษัตริย์เหวินอ๋องแห่งแคว้นโจว กษัตริย์อู่อ๋อง และเจียงไท่กง (เจียงจื่อหยา) รวมเล่มเป็นโครงสร้างทฤษฎีทางการทหารที่ครบถ้วนสมบูรณ์ เป็นสารานุกรมทางการทหารและการปกครองในสมัยโบราณฉบับหนึ่ง ที่มีความสำคัญในฐานะสมบัติทางทฤษฎีการทหารสมัยโบราณของจีน และยังส่งผลต่อโลกยุคหลังเป็นอย่างมาก แวดวงวิชาการของจีนต่างก็เห็นว่า “หลิวเทา” เป็นตำราทางการทหารฉบับหนึ่งที่คนยุคหลังเขียนอ้างอิงถึง “เจียงไท่กง” ตำราดังกล่าวถูกเขียนขึ้นในปลายยุครณรัฐ (ยุคทำสงครามชิงดินแดนระหว่างรัฐต่าง ๆ) เป็นสิ่งล้ำค่าในบรรดามรดกทางวัฒนธรรมทางการทหารในสมัยโบราณของจีน และยังเป็นส่วนประกอบสำคัญของวัฒนธรรมดั้งเดิมอันโดดเด่น เจียงไท่กงเป็นบุคคลที่มีทั้งความสามารถและสติปัญญาล้ำเลิศ และยังเป็นตัวแทนภาพลักษณ์ที่ “สูงส่ง ยิ่งใหญ่ และรอบรู้” ท่านหนึ่งในเวทีวรรณกรรมของจีน หนังสือแต่ละยุคในอดีตต่างก็ยอมรับบทบาททางประวัติศาสตร์ของท่าน นักปราชญ์ ผู้นับถือเต๋า ผู้ศึกษาธรรม ทหารและผู้คนทั่วสารทิศต่างก็ยอมรับท่านเป็นเหมือนบุคคลในสกุลเดียวกัน นับถือท่านเป็น “บรมครูทางตำราพิชัยสงคราม ปรมาจารย์ร้อยแซ่” จากการเป็นตัวแทนภาพลักษณ์ทางวรรณกรรม ท่านได้มีบทบาทในโคลงกลอน นิทาน และละครงิ้ว ท่านได้รับการยกย่องว่าเป็นวีรบุรุษที่เฉลียวฉลาดและกล้าหาญเป็นอย่างมาก เป็นเทพเจ้าแห่งการรบ เทพเจ้าแห่งสติปัญญาความเฉลียวฉลาด ได้รับการเคารพว่าเป็นเทพเจ้าผู้เฝ้าปกปักรักษาและคุ้มครอง ดังที่ว่า “ไท่กงอยู่ที่ไหน ที่นั่นก็จะปราศจากสิ่งอันตราย” เจียงไท่กงมีบทบาทที่สูงส่งทางประวัติศาสตร์จีน เมื่ออ้างอิงถึงตำรา “หลิวเทา” ของท่าน ท่านก็มักจะได้รับการยกย่องว่าเป็น “บิดาแห่งการทหาร” “บิดาแห่งตำราพิชัยสงคราม” และ เป็น 1 ใน 2 นักยุทธศาสตร์สงครามที่เก่งกาจที่สุดในประวัติศาสตร์ของจีน แม้แต่คัมภีร์ทางการทหาร “พิชัยสงครามซุนจื่อ” ที่เขียนขึ้นในยุคหลังจากนั้น ก็ได้อ้างอิงถึงแนวคิดทางการทหารจากตำรา “หลิวเทา”