เผยสัดส่วนรายได้ Bandai Namco มาจากกันดั้มเยอะที่สุด ตามด้วยไอ้มดแดง และขบวนการแปลงร่าง

เผยสัดส่วนรายได้ Bandai Namco มาจากกันดั้มเยอะที่สุด ตามด้วยไอ้มดแดง และขบวนการแปลงร่าง
เผยสัดส่วนรายได้ Bandai Namco มาจากกันดั้มเยอะที่สุด ตามด้วยไอ้มดแดง และขบวนการแปลงร่าง
เผยสัดส่วนรายได้ Bandai Namco มาจากกันดั้มเยอะที่สุด ตามด้วยไอ้มดแดง และขบวนการแปลงร่าง
เผยสัดส่วนรายได้ Bandai Namco มาจากกันดั้มเยอะที่สุด ตามด้วยไอ้มดแดง และขบวนการแปลงร่าง
เผยสัดส่วนรายได้ Bandai Namco มาจากกันดั้มเยอะที่สุด ตามด้วยไอ้มดแดง และขบวนการแปลงร่าง

ชายไทยรุ่นที่เติบโตมากับการ์ตูนและของเล่นญี่ปุ่นคงไม่มีใครไม่รู้จัก Bandai มหาอำนาจแห่งวงการของเล่น (ปัจจุบันรวมตัวกับค่ายเกม Namco กลายเป็น Bandai Namco แล้ว) แต่ถ้าถามว่ารายได้ของ Bandai มาจากอะไรบ้าง คงมีคนไม่เยอะนักที่ตอบได้

โชคดีที่ข้อมูลพวกนี้มีในเอกสารผลประกอบการทางการเงินของ Bandai ซึ่งถ้าเราลองหยิบผลประกอบการไตรมาสล่าสุด (ไตรมาสสามปี 2014 หรือนับเป็นปีงบประมาณ 2015) จะพบว่า Bandai มีรายได้ในปีที่แล้วทั้งปีเป็นจำนวนเงิน 5 แสนล้านเยน และมีกำไรจากการดำเนินงานประมาณ 4.4 หมื่นล้านเยน

รายได้ของ Bandai Namco แบ่งออกเป็น 4 ประเภทคือ ของเล่น (Toys & Hobby), คอนเทนต์ (เกม การ์ตูน เพลง), Amusement Facility (สวนสนุก) และรายได้อื่นๆ (Other) โดยรายได้หลักมีสองส่วน คือของเล่นและคอนเทนต์ (คอนเทนต์มีสัดส่วนรายได้มากกว่าของเล่นอยู่ในอัตราประมาณ 21:27) และรายได้ส่วนใหญ่ของบริษัทยังมาจากในญี่ปุ่นเป็นหลัก

ถ้านับรวมรายได้ทั้งหมดทุกประเภท แล้วมาแยกแยะตาม "คาแรกเตอร์" หรือ "ซีรีส์" จะพบว่าคาแรกเตอร์ที่ทำเงินให้ Bandai มากที่สุดคือ "กันดั้ม" (Gundam) ตามด้วย "ไอ้มดแดง" (Kamen Rider), ขบวนการแปลงร่าง (Power Rangers), วันพีซ (One Piece) และดราก้อนบอล (Dragon Ball) ตามลำดับ ส่วนธุรกิจซีรีส์ใหม่ที่กำลังมาแรงมากๆ คือ Yokai Watch เกมเลี้ยงมอนสเตอร์บนเครื่อง 3DS ที่พัฒนามาเป็นการ์ตูนและอนิเมะด้วย

ถ้าแยกสัดส่วนเฉพาะรายได้ฝั่งของเล่น แชมป์รายได้ปีปัจจุบันคือ Yokai Watch ที่กำลังมาแรง แต่ถ้าดูรายได้รวมๆ แล้ว ซีรีส์ที่ทำเงินฝั่งของเล่นมากที่สุดคือ "ไอ้มดแดง" ตามด้วยกันดั้มและ Power Rangers โดยจุดที่น่าสังเกตคือ วันพีซกลับทำรายได้ลดลงอย่างต่อเนื่องทุกปี ในขณะที่รายได้จากดราก้อนบอลกลับเพิ่มขึ้น แต่ทั้งสองซีรีส์ยังแพ้ให้กับซีรีส์เก๋ากึ้กอย่าง อันปังแมน (Anpanman) ซะอย่างงั้น

น่าเสียดายว่ารายได้ฝั่งคอนเทนต์กลับไม่แยกตามซีรีส์ แต่แยกตามสื่อแต่ละประเภทแทน ซึ่งจากข้อมูลจะเห็นว่าเกมอาเขต (Arcade Game Machine) เกมคอนโซล (Game Software) และอนิเมะ/ออนไลน์ (Network Content) มีสัดส่วนรายได้พอๆ กัน ส่วนคอนเทนต์ด้านเพลงมีรายได้น้อยกว่ากันครึ่งหนึ่ง

 

mk @ meconomics / http://www.bandainamco.co.jp/files/E79FADE4BFA1E8A39CE8B6B3E8B387E69699_... / Kohaku